เรื่องของ "ตา" ในผู้สูงอายุ

เรื่องของ "ตา" ในผู้สูงอายุ

การมองเห็น ” สี “ ผู้สูงอายุมองเห็นวัตถุที่มี สีม่วงและสีนํ้าเงิน ไม่ชัดและไม่สามารถแยกความแตกต่างของสี 2 สีนี้ได้อย่างชัดเจน แต่ผู้สูงอายุจะมองเห็นวัตถุ สีแดงและสีเหลือง ได้ชัดเจนดีมาก เนื่องจากเลนซ์ตาที่กลายเป็นสีเหลือง มากขึ้นนี้ยอมให้ แสงสีเหลืองและสีแดงผ่านได้ดี การเสื่อมของตาทำให้ผู้สูงอายุมีปัญหาความปลอดภัยในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและความสุขสบายอื่นๆ อย่างมาก

การเปลี่ยนแปลงเริ่มตั้งแต่หนังตาบน ซึ่งปกติจะบางไม่มีไขมันใต้ผิวหนัง เมื่ออายุมากขึ้นจึงเกิดหนังตาหย่อนได้ง่าย หนังตาล่างจะบวม เนื่องจากไขมันที่อยู่ใต้ลูกตายื่นออกมาเพราะผนังกั้นไม่แข็งแรง ดวงตาผู้สูงอายุไม่มีประกายสดใสเพราะนํ้าหล่อเลี้ยงตาน้อยลงเนื่องจากเซลล์กลอบเล็ท ทำงานน้อยลง ถ้าอยู่ในที่อากาศแห้งจะรู้สึกเคืองตา บริเวณกระจกตามีวงขาวเกิดขึ้นอาจเกิดเพียง 1/4-1/2 หรือรองวงกลมถัดจากขอบนอกของตาดำ กล้ามเนื้อม่านตา หย่อนทำให้รูม่านตาเล็กกว่าวัยหนุ่มสาว และรูม่านตาหดและขยายช้า จึงทำให้ผู้สูงอายุปรับเปลี่ยนการมองวัตถุซึ่งอยู่ในที่มืดแล้วมองในที่สว่างหรือมองในที่สว่างแล้วกลับไปมองที่มืด เช่นการเปิดปิดไฟบ่อยๆ ทำให้ไม่สามารถปรับสายตาให้มองเห็นชัดได้ภายในช่วงเวลาสั้นๆ ผู้สูงอายุมักสายตายาว การปรับสายตาจากมองใกล้เป็นมองไกล หรือมองไกลแล้วมองใกล้ได้ไม่ดี เมื่อมองวัตถุที่เคลื่อนไหวเร็วๆ จะรู้สึกเวียนศีรษะเพราะการทรงตัวในผู้สูงอายุนั้น ส่วนหนึ่งต้องอาศัยการมองเห็น เลนซ์ตามักขุ่นทำให้ทึบแสงมากขึ้น และมีสีเหลืองเพิ่มขึ้น เมื่อแสงผ่านเลนซ์ตาลักษณะนี้จะถูกกรองเก็บแสงสีน้ำเงินและสีม่วงไว้มากขึ้น เพื่อการมองที่ชัดเจน และการมองเห็นเกี่ยวกับความลึกลดลง เนื่องจากการตอบสนองของจอตาต่อแสงที่ไปกระตุ้นถูกขัดขวาง จึงทำให้ความสามารถในการเพ่งมอง ลดลง และถ้าเลนซ์ตาขุ่นมากจนมีลักษณะทึบแสงเรียกว่า เป็นต้อกระจก ต้อหิน